วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
       วันที่ 21 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2557 เวลา 14.10-17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

        วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์  พร้อมกับบอกถึงอุปกรณ์ที่ใช้ประดิษฐ์สื่อ วิธีการทำ  และวิทยาศาสตร์ที่เด็กจะได้จากการเล่น   ยกตัวอย่างเช่น
      -ตุ๊กตากระดาษ จะได้วิทยาศาสตร์เรื่องจุดสมดุล
      -รถแรงดันลม    จะได้วิทยาศาสตร์ในเรื่องแรงดันอากาศ
      -เสียงพาเพลิน  จะได้วิทยาศาสตร์ในเรื่องเสียง
      -จรวดหลอด      จะได้วิทยาศาสตร์ในเรื่องแรงลม
และอาจารย์สอนประดิษฐ์ของเล่นจากแกนทิชชู เป็นของเล่นตุ๊กตาไต่เชือก  โดยมีอุปกรณ์ดังนี้
      -แกนทิชชู
      -กรรไกร
      -กาว
      -กระดาษสี
      -ปากกาเมจิก


การนำไปประยุกต์ใช้

     -สามารถนำสื่อไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้
     -สามารถนำไปปรับใช้ในรายวิชาอื่นได้ให้เหมาะสม


การประเมิน

      ตนเอง : ตั้งใจเรียน ตั้งใจประดิษฐ์สื่อ
      เพื่อน : ตั้งใจเรียน  แต่งกายเรียบร้อย
      อาจารย์ : อธิบายสื่อได้อย่างเข้าใจและคอยบอกถึงความถูกผิดในการทำสื่อ






วันศุกร์ ที่24 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557

สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์



ลูกข่างเปลี่ยนสี





อุปกรณ์

-สีไม้
-กระดาษ A4
-เชือก
-กาว


ขั้นตอนการทำ

1.ตัดกระดาษแข็งให้เป็นวงกลมขนาดพอดี
2.เจาะรูตรงกลางกระดาษ2รู
3.จากนั้นระบายสี ที่เป็นแม่สีลงไปในกระดาษ
4.นำเชือกทั้งสองเส้นไปแย่ลงในรู

เล่นแล้วได้อะไร

       เด็กได้เรียนรู้ความเฉื่อยและแรงสั่นของเชือก  เด็กได้เรียนรู้การตอบสนองในการรับภาพ  ของตาจากลูกข่างเปลี่ยนสีที่กำลังหมุนด้วยความเร็ว และตำแหน่งที่เด็กสังเกตของเด็กไม่สามารถสังเกตลายบนลูกข่างเปลี่ยนสีที่กำลังหมุนได้  เนื่องจากการเปลี่ยนภาพและสีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเด็กจึงเห็นสีบนลูกข่างเป็นแม่สี
        ลูกข่างเปลี่ยนสีจะหมุนเข้าหาตัวเราด้วยแรงหนีศูนย์กลางซึ่งเกิดจากการปั่นให้หมุนเวี่ยงด้วยเชือก  เมื่อแรงหนีศูนย์กลางหมดลูกข่างจะหยุดหมุน  เกิดการหมุนเชือกทำให้เชือกเกิดเกี่ยวแล้วทำให้ขยายตัวได้






       





บันทึกอนุทินครั้งที่ 9



บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
       วันที่ 14 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2557 เวลา 14.10-17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

           อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอสื่อและอาจารย์ให้บอกวิธีเล่นและขั้นตอนการทำสื่อวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของแต่ละคน โดยอาจารย์จะคอยอธิบายเพิ่มเพื่อให้เข้าใจกับสื่อมากขึ้นและให้เหมาะสมกับเด็ก แล้วบอกว่าของเล่นชิ้นนั้นเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร
            ยกตัวอย่างสื่อวิทยาศาสตร์ที่เพื่อนมานำเสนอ
-กังหันลม
-ไม้ไอศครีมหรรษา
-ลูกโป่งหรรษา
-โทรศัพท์วิทยุ


การนำไปประยุกต์ใช้

       -สามารถนำสื่อของเล่นไปปรับใช้ในการทำสื่อการเรียนการสอนได้
       -สามารถนำคำที่อาจารย์ชี้แนะเพิ่มเติมนำไปประยุกต์ใช้ได้

การประเมิน

      ตนเอง : ตั้งใจเรียน และสนใจเพื่อนนำเสนอ
      เพื่อน : ตั้งใจนำเสนอสื่อของเล่นและตอบคำถาม
      อาจารย์ : ชี้แนะอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น