วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8




บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
       วันที่ 7 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2557 เวลา 14.10-17.30 น.


สัปดาห์สอบกลางภาค




บันทึกอนุทินครั้งที่ 7




บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
       วันที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ.2557 เวลา 14.10-17.30 น.


เข้าร่วมอบรมโครงการ "จิตอาสาตามรอยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง"จึงไม่มีการเรียนการสอน





บันทึกอนุทินครั้งที่ 6



บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
       วันที่ 23 เดือน กันยายน พ.ศ.2557 เวลา 14.10-17.30 น.

                     


ความรู้ที่ได้รับ

    วันนี้อาจารย์สอนให้ทำของเล่นวิทยาศาสตร์ "ลูกยางกระดาษ" 

อุปกรณ์
-กระดาษสีแข็ง
-คลิปหนีบกระดาษ
-กรรไกร

วิธีทำ"ลูกยางกระดาษ"
1.ตัดกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมพื้นผ้า
2.พับครึ่งกระดาษ
3.ตัดกระดาษจากปลายเข้าสู่ด้านในจนถึงครึ่ง
4.พับชายกระดาษฝั่งตรงข้ามแล้วนำคลิปมาหนีบไว้
5.ตกแต่งลูกยางกระดาษให้สวยงาม

สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรม "ลูกยางกระดาษ"
-การเล่นอย่างสร้างสรรค์
-ได้คิดอย่างอิสระ
-การทำผลงานที่มีการขั้นตอนไม่ซับซ้อน
-เกิดความภาคภูมิใจผลงานตัวเอง


เพื่อนๆนำเสนอบทความเกี่ยวกับวิทยาสาสตร์


เลขที่ 3 นางสาวนภาวรรณ กรุดขุนเทียน
นำเสนอเรื่อง สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จาก เป็ดและไก่
ผู้เขียน ครูลำพรรณี มืดขุนทด
เด็กเรียนรู้ผ่านนิทาน เรื่อง หนูไก่คนเก่ง มี 3 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 นำเด็กร้องเพลงไก่และทำท่าทางประกอบอย่างอิสระ
ขั้นที่ 2 สนทนาตั้งคำถามกับเด็ก
ขั้นที่ 3 ให้เด็กๆวาดภาพตามจินตนาการ และครูก็บันทึกคำพูดที่เด็กบอกลงภาพนั้นๆ

เลขที่ 4 นางสาวสุธาสินี ธรรมานนท์
นำเสนอเรื่อง สร้างแนวทางให้เด็กทดลองวิทยาศาสตร์
ผู้เขียน ดร.เทพปัญญา พรหมขัติแก้ว
1.ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องรอบๆตัว
2.ออกไปหาคำตอบพร้อมๆกับเด็ก
3.เด็กเอาสิ่งนั้นมาตอบคำถามของเขาเอง ครูก็ช่วยเสริมเนื้อหาเข้าไป
4.เอาสิ่งนี้มาให้เพื่อนช่วยคิด
5.นำสิ่งนี้ไปเชื่อมโยงทางวิทยาศาสตร์

เลขที่ 5 นางสาวนฤมล อิสระ
นำเสนอเรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
           วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ  ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสะบาย

เลขที่ 7 นางสาวยุพดี สนประเสริฐ
นำเสนอเรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร
ผู้เขียน ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร
           เด็กได้เรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ การคิด และลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัยและเป็นไปตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย กิจกรรม ในวันนี้นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อย จะได้ร่วมกันหาคำตอบจากคำถามที่ว่า โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร


"ต่อมาอาจารย์ได้สอนเรื่อง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์"

ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัด
กิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา และทักษะการคำนวณ 


การนำมาประยุกต์ใช้

-ครูควรมีส่วนร่วมกับการทำกิจกรรมร่วมกับเด็กๆ
-จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ
-สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กได้

 การประเมิน

        ตนเอง : ให้ความร่วมมือในชั้นเรียนในการทำกิจกรรมประดิษฐ์ และตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหา
        เพื่อน : เพื่อนๆทุกคนตั้งใจทำกิจกรรม
        อาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนที่ส่งเสริมให้นักศึกษาไปค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเองและจัดการประดิษบสื่อซึ่งทำให้นักศึกษาได้คิดสร้างสรรค์



สรุปบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์



สอนลูกเรื่องกลางวัน กลางคืน (Teaching Children about Day and Night)ผู้เขียน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง



              การสอนลูกเรื่องกลางวัน กลางคืน (Teaching Children about Day and Night) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ และเห็นถึงสภาพธรรมชาติที่มีกลางวันซึ่งเป็นระยะเวลาตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ หรือตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตก และกลางคืนซึ่งหมายถึงระยะเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง หรือตั้งแต่พระอาทิตย์ตกจนพระอาทิตย์ขึ้น สลับเปลี่ยนหมุนเวียนไปทุกวันๆ ในยามกลางวันคนเราจะเห็นสิ่งต่างๆ จะรู้สึกอบอุ่นและร้อน ตามลำดับเวลาที่ดวงอาทิตย์เปลี่ยนตำแหน่ง เห็นท้องฟ้าสว่าง มีก้อนเมฆเคลื่อนไปบนท้องฟ้า จนกระทั่งดวงอาทิตย์ลับหายไปจากขอบฟ้า คนเราจะเห็นดวงจันทร์ และดวง ดาวมาแทน อากาศรอบตัวเราจะค่อยๆเย็นลง เราจะรู้สึกหนาว จะเข้าไปอยู่ในบ้านเพื่อความอบอุ่น ท้องฟ้าจะมืด เด็กๆได้ไปโรงเรียนในเวลากลางวัน และได้เล่นสนุกสนาน แต่ในเวลากลางคืน ทุกคนจะนอนหลับพักผ่อน ความมืดทำให้เรามองอะ ไรไม่เห็นหรือไม่ชัดเจน เด็กๆมักกลัวความมืด กลัวสัตว์บางชนิดส่งเสียงมาโดยเราไม่เห็นตัวมัน เรื่องราวเหล่านี้อยู่ในชีวิต ประจำวันของคนเราทุกคน สภาพกลางวันกลางคืนเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกวัน และส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของคน พืช สัตว์ จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็กที่เด็กๆควรเรียนรู้ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 จึงกำหนดไว้ในโครงสร้างของหลักสูตร ให้เด็กปฐมวัยได้เรียนสาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตัวเด็ก ซึ่งเรื่องกลางวัน กลางคืน เป็นเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับธรรมชาติดังที่กล่าวมา ที่ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย

การสอนเรื่องกลางวัน กลางคืนสำคัญอย่างไร?
การกำหนดให้เด็กเรียนรู้เรื่องกลางวัน กลางคืน เป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งดังนี้
  • เป็นวิทยาศาสตร์ คือเป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกต และค้นคว้าเชิงประจักษ์ กลางวัน กลางคืนเป็นเรื่องราวเกี่ยว กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ที่มีการค้นคว้าไว้ มีหลักฐานที่นำมาจัดไว้อย่างเป็นระเบียบ จึงควรสนับสนุนให้เด็กเรียนรู้
  • เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก สิ่งต่างๆที่มีชีวิต คือ คน พืช สัตว์ ล้วนมีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับกลางวัน กลางคืนทั้งสิ้น เช่น การตื่นนอนและเห็นสรรพสิ่งต่างๆได้ จากแสงอาทิตย์ที่ปรากฏให้เห็นในเวลากลางวัน พืชจะเจริญเติบโตเมื่อได้รับแสงอา ทิตย์ นกกาโบยบินออกหากินในเวลากลางวันเป็นส่วนมาก และในเวลากลางคืน เราจะนอนหลับพักผ่อน เรามองเห็นดวงจันทร์ ดวงดาว เมื่อท้องฟ้ามืดในยามกลางคืน สัตว์บางชนิดส่งเสียง และออกหากินในเวลากลางคืน ฯลฯ
  • เป็นการสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของธรรมชาติ เป็นสิ่งจำเป็นที่ควรปลูกฝังให้เด็ก เพื่อการนำไปใช้และรัก ษาธรรมชาติ กลางวันเราได้รับแสงสว่างและความร้อนจากดวงอาทิตย์ เราได้ถนอมอาหารโดยอาศัยความร้อนจากแสงอา ทิตย์ ต้นไม้เจริญเติบโต เพราะใช้แสงอาทิตย์เป็นปัจจัยในการปรุงอาหาร คนเราและสัตว์ก็กินพืชเป็นอาหารอย่างเป็นวงจร สิ่งที่กล่าวมาเป็นเรื่องที่คนเราควรรู้คุณประโยชน์และรักษาธรรมชาติไว้
  • เด็กปฐมวัยควรได้รับการพัฒนาทักษะในการดำรงชีวิตให้อยู่รอดท่ามกลางธรรมชาติ จึงควรเรียนรู้ความเป็นธรรม ชาติของสรรพสิ่งที่อยู่รอบตัว รวมทั้งเรื่องกลางวัน กลางคืน เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา
  • เรื่องราวของธรรมชาติรอบตัวเป็นของการเกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล จึงสามารถนำไปสร้างนิสัยความสงสัยใคร่รู้ให้แก่เด็กได้เป็นอย่างดี จะทำให้เด็กสนุกที่จะเรียนรู้ด้วยการสังเกต และตรวจสอบข้อสงสัย ซึ่งเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์