วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย



ชื่อวิจัย : เรื่องความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ๆได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ชื่อผู้แต่ง : สุมาลี  หมวดไธสง
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ความสำคัญของวิจัย
            เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนและเป็นแนวทางในการใช้วิธีการสอนและการจัดกิจกรรมให้ดู  และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยนำไปพัฒนาทักษะด้านอื่นๆให้แก่เด็กต้องเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัยต่อไป

วัตถุประสงค์ 
           เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรีย

ตัวแปรที่ศึกษา
           ตัวแปรต้น  ได้แก่  กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
           ตัวแปรตาม  ได้แก่  ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

กลุ่มตัวอย่าง
            เด็กอายุ 5-6 ปี  ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553  โรงเรียนสารสาสน์วิเทศ  จำนวน 180 คน  ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม  โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มโดยสุ่มมา1 ห้องเรียน  จำนวน 30 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
           1.แผนการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
           2.แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ของเด็กปบมวัย

การดำเนินงานวิจัย
           ดำเนินการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 วัน  คือวันละประมาณ  40 นาที  


สรุปวิจัย
          เป็นการจัดประสบการณ์อีกทางหนึ่งที่สามารถพัฒนากระบวนการคิดของเด็กปบมวัยในด้านสติปัญญา  เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย  ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้โดยลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
          
            



บันทึกอนุทินครั้งที่ 16


บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
       วันที่ 2 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2557 เวลา 14.10-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

         วันนี้อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู  ตามที่ตัวเองจับฉลากได้ และอาจารย์จะซักถามเรื่องที่เราออกไปนำเสนอเพื่อให้เราได้ร่วมตอบคำถาม

       
 หลังจากการนำเสนอเสร็จแล้วอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ละ 5 คน ช่วยกันทำแผ่นพับเรื่องการสานสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับโรงเรียน โดยจะมีหัวข้อดังต่อไปนี้
 -หน้าปก  ชื่อโรงเรียนและสัญลักษณ์ตราโรงเรียน
-หน้าที่ 1 คำชี้แจง  หน่วยการเรียนรู้
-หน้าที่ 2 เล่าสู่กันฟัง
-หน้าที่ 3 ใส่เพลง  คำคล้องจอง หรือนิทาน
-หน้าที่ 4 เล่นกับลูก เป็นการใส่เกมเพื่อให้เด็กได้เล่นกับผู้ปกครอง
-หน้าที่ 5 สมาชิกในกลุ่ม


การนำไปประยุกต์ใช้

-สามารถนำการนำเสนอวิจัยหรือโทรทัศน์มาประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมให้เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย
-สามารถนำแผนพับไปปรับใช้ในการเรียนการสอนให้เหมาะสมได้

การประเมิน

ตนเอง : ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ และจดบันทึกที่อาจารย์ชี้เเนะเพิ่มเติม และให้ความร่วมมือในการทำแผนพัม
เพื่อน : ตั้งใจนำเสนองานและมีความตั้งใจในการทำแผ่นพับ
อาจารย์ : จะคอยสอดแทรกคำถามเพิ่มเติมเวลานำเสนอจะได้ให้นักศึกษาได้เข้าใจในเรื่องที่นำเสนอเพิ่มมากขึ้น และยังมีแนวคิดการสอนแปลกๆใหม่ๆมาตลอด

                 





วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15


บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
       วันที่ 25 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2557 เวลา 14.10-17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

     วันนี่อาจารย์ให้นำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู โดยมีเรื่องที่นำเสนอดังนี้
โทรทัศน์ครู
-การกำเนิดของเสียง
        การกำเนิดของเสียง คือ เสียงเกิดจากการสั่นของมวลเนื้อวัตถุ เมื่อมวลวัตถุถูกเคาะจะเกิดการสั่นสะเทือนจึงทำให้เกิดเสียงที่เราได้ยิน จากการทดลองนี้เด็กได้ประสบการณ์เกี่ยวกับทักษะทางวิทยาศาสตร์คือ ได้คิด ทดลองและสังเกต

-สารอาหารในชีวิตประจำวัน
         ครูทำกิจกรรมในห้องเรียนโดยมีขนมและกับข้าวมาให้เด็กๆแต่ละกลุ่ม ครูบอกถึงประโยชน์และสารอาหารที่มีในอาหารให้เด็กๆได้วิเคราะห์สารอาหารของอาหารและขนมของกลุ่มตัวเอง

-ไฟฟ้าและพรรณพืช
          ครูสอนเด็กๆเรื่องการเจริญเติบโตของพืชโดยใช้สื่อการเรียนรู้นอกห้องเรียน และให้นักเรียนสังเกตการณ์เจริญเติบโตของพืช จากนั้นให้เด็กทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องไฟฟ้าและพันธุ์พืช

วิจัย
-ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
          ครูใช้แผนการสอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะ หลังจากจัดกิจกกรมแล้วทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยดีมากขึ้น

-ผลการจัดกิจกรรมเรื่องแสงที่มีต่อทักษะการแสวงหาความรู้      
            แสง หมายถึง เรื่องราวที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการจัดกิจกรรม ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดแสงและการเดินทางของแสง พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานแสงที่มนุษย์สร้างขึ้นตัวกลางของแสง การหักแหของแสง การสะท้อนแสง

-การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเครื่องดื่มสมุนไพร
              เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นเมื่อได้รับการจัดกิจกรรมการทำน้ำสมุนไพร
  

อาจารย์ใหทำวาฟเฟิลโดยอาจารย์จะอธิบายขั้นตอนการทำก่อน โดยมีส่วนประกอบดังนี้
1.แป้ง
2.เนย
3.ไข่ไก่
4.น้ำเปล่า









การนำไปประยุกต์ใช้

-สามารถนำโทรทัศน์ครูที่เพื่อนำเสนอมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้
-สามารถนำขั้นตอนการทำวาฟเฟิลใช้การการสอนเด็กปฐมวัยได้ให้เหมาะสม

การประเมิน

ตนเอง : ตั้งใจจดบันทึกที่เพื่อนนำเสนอ และให้ความร่วมมือในการทำวาฟเฟิล
เพื่อน : เพื่อนตั้งใจนำเสนอวิจัยหรือโทรทัศน์ครู และกระตือรือร้นในการทำวาฟเฟิล
อาจารย์ : เสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อให้เราเข้าใจมากขึ้น และมีกิจกรรมขั้นตอนการทำวาฟเฟิลมาให้ลงมือปฏบัติ

            













บันทึกอนุทินครั้งที่ 14


บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
       วันที่ 18 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2557 เวลา 14.10-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนที่ยังไม่นำเสนอแผนการสอนจากอาทิตย์ที่แล้วให้ออกมานำเสนอ ต่อมาอาจารย์ให้เพื่อนออกมานำเสนอสรุปวิจัยหรือโทรทัศน์ครู เรื่องที่นำเสนอดังนี้
-เรื่องรวมสีน้ำยาล้างจาน
-เรื่องสร้างพื้นฐานกิจกรรมการเรียนรู้กับประสาทสัมผัสทั้ง 5
-เรื่องกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปบมวัย
-ดินน้ำมันลอยได้อย่างไร
      หลังจากเพื่อนๆนำเสนอเสร็จแล้วอาจารย์ได้สอนการทำไข่เทอริยากิ




การนำไปประยุกต์ ใช้

-สามารถนำแผนการสอนไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยให้เหมาะสมได้
-สามารถนำขั้นตอนการทำไข่เทอริยากิไปปะยุกต์ใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้


การประเมิน

ตนเอง : ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอและมีความกระตือรือร้นในการทำไข่เทอริยากิ
เพื่อน : ให้ความร่วมมือในการทำไข่เทอริยากิ
อาจารย์ : มีเทคนิคต่างๆในการสอนเพื่อไม่ให้เบื่อ และยังสามารถสอดแทรกขั้นตอนการทำอาหารได้อีก

               


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13


บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
       วันที่ 11 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2557 เวลา 14.10-17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอแผนการสอน ตามแผนการจัดประสบการณ์โดยนำเสนอตามวัน  ดังนี้
1.วันจันทร์ (หน่วยผลไม้)
2.วันอังคาร (หน่วยนกหงสืหยก)
3.วันพุธ (หน่วยข้าวโพด)
4.วันพฤหัสบดี (หน่วยแตงโม)
5.วันศุกร์ (หน่วยกล้วย)
6.วันจันทร์ (หน่วยช้าง)
7.วันอังคาร (หน่วยผีเสื้อ)
8.วันพุธ (หน่วยหน่วยสัปปะรด)
9.วันพฤหัสบดี (หน่วยส้ม)

การนำไปประยุกต์ใช้

-สามารถนำแผนการสอนหน่วยต่างๆไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
-สามารถนำคำอาจารย์ชี้แนะไปปรับใช้ในครั้งต่อไป


การประเมิน

ตนเอง : ตั้งใจนำเสนอหน่วยช้างและจดที่อาจารย์ชี้แนะเพิ่มเติม แะตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอ 
เพื่อน : ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอแผน
อาจารย์ : ชี้แนะเพิ่มเติมเพื่อให้ได้เข้าใจมากเพิ่มขึ้น

                       




บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
       วันที่ 4 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2557 เวลา 14.10-17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

         วันนี้อาจารย์อธิบายขั้นตอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์โดยมีหัวข้อคั้งต่อไปนี้
1.สาระที่ควรเรียนรู้
2.เนื้อหา
3.แนวคิด
4.ประสบการณืสำคัญ
5.บูรณาการรายวิชา
6.เว็บกิจกรรม 6 กิจกรรม
      -กิจกรรมเสริมประสบการณ์
      -กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
      -กิจกรรมเสรี
      -กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
      -การเล่นกลางแจ้ง
      -เกมการศึกษา
7.กรอบพัฒนาการ
8.วัตถุประสงค์

การนำไปประยุกต์ใช้

-สามารถนำขั้นตอนการเขียนแผนไปปรับใช้ในรายวิชาอื่นได้
-สามารถเขียนแผนจัดประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

การประเมิน

ตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึกตามที่อาจารย์อธิบาย
เพื่อน : ตั้งใจฟังอาจารย์
อาจารย์ : ชี้แนะการเขียนแผนได้อย่างละเอียดและมีเทคนิคการสอนต่างๆ

               



บันทึกอนุทินครั้งที่ 11


บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
       วันที่ 28 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2557 เวลา 14.10-17.30 น.



ความรู้ที่ได้รับ

       วันนี้อาจารย์สอนในเรื่องการทดลองวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ดอกไม้ลอยน้ำ ขวดน้ำต่างระดับ ดินน้ำมันลอยน้ำ ดังนี้

ดอกไม้บานลอยน้ำ

             ตัดกระดาษเป็นรูปดอกไม้แล้วพับไว้ตามรอบที่เราตัด แล้สน้ำดอกไม้ไปลอยในน้ำ แล้วดอกไม้จะค่อยๆบานออก  เพราะน้ำเข้าไปซึบบริเวณที่ว่างภายในกระดาษทำให้ดอกไม้บานออก



ดินน้ำมันลอยน้ำ


          ขั้นแรกเราปั้นดินน้ำมันให้เป็นลูกวงกลมแล้วเอามาลอยในน้ำแล้วจะเห็นได้ว่าดินน้ำมันจมน้ำ  ต่อมาอาจารย์ให้คิดทำแบบไหนก็ได้ที่เอาดินน้ำมันมาลอยแล้วไม่จม ก็คือปั้นดินน้ำมันเป็นรูปตะกร้าก็จะลอยน้ำได้แล้ว


ขวดน้ำต่างระดับ


การทดลองขวดน้ำต่างระดับนี้จะทำให้รู้ถึงแรงดันของน้ำ 


           
หลังจากการทดลองวิทยาศาสตร์ต่างๆเสร็จแล้วอาจารย์ได้อธิบายการเขียนแผนประสบการณ์  หน่วยสัตว์

การนำไปประยุกต์ใช้

-สามารถนำการทดลองวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้
-สามารถนำแผนประสบการณ์ไปปรับใช้ในรายวิชาอื่นได้

การประเมิน

ตนเอง : ตั้งใจทำการทดลองวิทยาศาสตร์ และจดบันทึกตามที่อาจารย์อธิบาย
เพื่อน : มีความกระตือรือร้นในการทดลองและตั้งใจฟังอาจารย์
อาจารย์ : มีการทดลองต่างๆมาให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติ และอธิบายเนื้อหาได้อย่างเข้าใจ และมีวิธีการสอนที่ไม่น่าเบื่อ