วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5




บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
       วันที่ 16 เดือน กันยายน พ.ศ.2557 เวลา 14.10-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ

             -วันนี้อาจารย์เปิดเพลงเกี่ยวกับวิยาศาสตร์ให้ฟัง แล้ววิเคราะห์เนื้อหาของเพลงนี้
             -อาจารย์ให้จับกลุ่มละ 5 คนแล้วเลือกเรื่องมาหนึ่งเรื่องเพื่อมาแตกว่สนประกอบของเรื่องที่เรื่องมานั้น
             -เพื่อน 2ิ คน นำเสนอบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

คนที่ 1 นางสาววีนัส ยอดแก้ว

นำเสนอเรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่
ผู้เขียน อาจารย์ชุติมา เตมียสถิต
               หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้อง แยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์  เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ 
                  การทดลองใช้  พบว่าครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ไปจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรรู้ได้ในทุกสาระโดยสอดแทรกเข้าไปในทุกกิจกรรมหลักที่ครูจัดอย่างสม่ำเสมอได้ แต่สิ่งที่ครูยังมีความต้องการนั้น ครูยังต้องการตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เยอะ ๆ ซึ่ง สสวท. กำลังพัฒนาส่วนนี้อยู่

คนที่ 2 นางสาวเจนจิรา    บุตรช่วง

นำเสนอเรื่อง   สอนลูกเรื่องพืช
ผู้เขียน  อาจารย์นิติธร  ปิลวาสน์
               การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับพืชนิดต่างๆนั้น พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ง่ายๆจากกิจวัตรประจำวัน ตัวอย่างเช่น
              -การให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการประกอบอาหารประเภทผัก ผัดผักรวม แกงเลียง แกงส้ม หรือสลัดผัก พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการประกอบอาหาร
              -การหัดให้เด็กเพาะปลูกพืชง่ายๆที่บ้านก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
              -ให้เด็กไปช่วยเลือกซื้อพันธุ์พืชที่เป็นไม้ดอก ไม้ประดับ จากแหล่งจำหน่ายพันธุ์ไม้ และนำมาจัดเป็นสวนหย่อมที่หน้าบ้าน
              -พาลูกไปเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวที่มีพันธุ์พืชหรือต้นไม้ เช่น สวนดอกไม้ สวนพฤกษศาสตร์ ภูเขา น้ำตก 

*อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ไปดูความลับของแสงแล้วสรุปเป็น mind map  ดังนี้


การนำไปประยุกต์ใช้

          จากที่เพื่อนนำเสนอบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยทำให้รู้ถึงเรื่องที่เราไม่เคยรู้มาก่อน รวมถึงวิธีการสอนแบบบูรณาการและสอดแทรกวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนและกิจกรรมต่างๆ

การประเมิน

           ตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายและตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอบทความ
           เพื่อน : บางคนตั้งใจเพื่อนนำเสนอบทความบางคนก็พูดแข็งกับเพื่อนนำเสนอ
           อาจารย์ : อาจรย์จะให้เพิ่มเติมจากที่เพื่อนนำเสนอบทความเพื่อทำให้เราเข้าใจมากขึ้น และจะใช้คำถามปลายเปิด

              



วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4




บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
       วันที่ 9 เดือน กันยายน พ.ศ.2557 เวลา 14.10-17.30 น.




ความรู้ที่ได้รับ




การนำไปประยุกต์ใช้

            -สามารถนำรูปแบบการสอนของอาจารย์ไปประยุกต์ใช้ในการสอนต่อไปในอนาคต
            -นำความรู้ไปปรับใช้กับเด็กให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
            -สรุป mind map สรุปความรู้และความเข้าใจ

การประเมิน

             ตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย และตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายและตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้
             เพื่อน : ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยาย และให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม
             อาจารย์ : อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมอย่างดีและยังมีสื่อpower point มาใช้ควบคู่กับการสอน

                  



บันทึกอนุทินครั้งที่ 3




บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
       วันที่ 3 เดือน กันยายน พ.ศ.2557 เวลา 14.10-17.30 น.






"วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนในคาบนี้ แต่อาจารย์ให้ไปเข้าร่วมโครงการศึกษาศาสตร์วิชาการ"










บันทึกอนุทินครั้งที่ 2





บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
       วันที่ 26 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2557 เวลา 14.10-17.30 น.



 ความรู้ที่ได้รับ
       



การนำไปประยุกต์ใช้

              -สามารถนำไปออแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับเด็กปฐมวัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้มีคุณภาพ
              -การใช้ Mind Map สรุปความรู้และความเข้าใจของตัวเอง
              -สามารถนำเนื้อหาไปปรับปรุงใช้ในการสอนเด็กได้

การประเมิน

              ตนเอง : ร่วมตอบคำถามในห้องเรียนและให้ควาร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน
              เพื่อน : ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นช่วงๆ แต่ไม่มากหนัก ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน
              อาจารย์ : อาจารย์จะเน้นใช้คำถามปลายเปิด และจะมีเทคนิคต่างๆในการดึงความสนใจของนักศึกษา

          



บันทึกอนุทิน ครั้งที่1



บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
       วันที่ 19 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2557 เวลา 14.10-17.30 น.





ความรู้ที่ได้รับ

              1. อาจารย์แนะแนวการสอนในรายวิชา

คำอธิบายรายวิชา

               ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด ทฤษฎี และหลักการทางวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รูปแบบการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การออกแบบ และวางแผนกิจกรรมบูรณาการประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผลลัพธ์การเรียนรู้ แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่
                -ด้านคุณธรรมจริยธรรม
                -ด้านความรู้
                -ด้านทักษะทางปัญญา
                -ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคล  และความรับผิดชอบ
                -ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                -ด้านการจัดการเรียนรู้
               
               2.อาจารย์อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการทำแฟ้มสะสมผลงาน(Portfollio) โดยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิคค์ และเน้นการใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยจะมีหัวข้อในการทำบล็อกดังนี้
                -ชื่อ และคำอธิบายบล็อก
                -รูปภาพ และข้อมูลผู้เรียน
                -นาฬิกาและปฏิทิน
                -เชื่อมโยงบล็อกต่างๆ

การนำไปประยุกต์ใช้

                -สามารถนำวิธีการสอนไปใช้กับเด็กได้
                -สามารถใช้เทคโนโลยีในการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ
                -สามารถนำวิธีการทำบล็อกไปใช้ในการบันทึกความรู้ต่างๆได้

การประเมิน

                 ตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยาย คาบแรกอาจมีการตื่นเต้น
                 เพื่อน : เพื่อนบางคนก็แต่งกายเรียบร้อยบางกลุ่มก็ไม่เรียบร้อย และเพื่อนก็ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายหน้าชั้นเรียน
                 อาจารย์ : อาจารย์จะให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำถามหรือแสดงความคิดของตนเองและอาจารย์จะใช้คำถามแบบปลายปิดหรือปลายเปิดทุกครั้ง