บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
Science Experiences Management for Early Childhood
วันที่ 16 เดือน กันยายน พ.ศ.2557 เวลา 14.10-17.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
-วันนี้อาจารย์เปิดเพลงเกี่ยวกับวิยาศาสตร์ให้ฟัง แล้ววิเคราะห์เนื้อหาของเพลงนี้
-อาจารย์ให้จับกลุ่มละ 5 คนแล้วเลือกเรื่องมาหนึ่งเรื่องเพื่อมาแตกว่สนประกอบของเรื่องที่เรื่องมานั้น
-เพื่อน 2ิ คน นำเสนอบทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
คนที่ 1 นางสาววีนัส ยอดแก้ว
นำเสนอเรื่อง หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่
ผู้เขียน อาจารย์ชุติมา เตมียสถิต
หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้อง แยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
การทดลองใช้ พบว่าครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ไปจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรรู้ได้ในทุกสาระโดยสอดแทรกเข้าไปในทุกกิจกรรมหลักที่ครูจัดอย่างสม่ำเสมอได้ แต่สิ่งที่ครูยังมีความต้องการนั้น ครูยังต้องการตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เยอะ ๆ ซึ่ง สสวท. กำลังพัฒนาส่วนนี้อยู่
คนที่ 2 นางสาวเจนจิรา บุตรช่วง
นำเสนอเรื่อง สอนลูกเรื่องพืช
ผู้เขียน อาจารย์นิติธร ปิลวาสน์
การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับพืชนิดต่างๆนั้น พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ง่ายๆจากกิจวัตรประจำวัน ตัวอย่างเช่น
-การให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการประกอบอาหารประเภทผัก ผัดผักรวม แกงเลียง แกงส้ม หรือสลัดผัก พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการประกอบอาหาร
-การหัดให้เด็กเพาะปลูกพืชง่ายๆที่บ้านก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
-ให้เด็กไปช่วยเลือกซื้อพันธุ์พืชที่เป็นไม้ดอก ไม้ประดับ จากแหล่งจำหน่ายพันธุ์ไม้ และนำมาจัดเป็นสวนหย่อมที่หน้าบ้าน
-พาลูกไปเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวที่มีพันธุ์พืชหรือต้นไม้ เช่น สวนดอกไม้ สวนพฤกษศาสตร์ ภูเขา น้ำตก
*อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ไปดูความลับของแสงแล้วสรุปเป็น mind map ดังนี้
การนำไปประยุกต์ใช้
จากที่เพื่อนนำเสนอบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยทำให้รู้ถึงเรื่องที่เราไม่เคยรู้มาก่อน รวมถึงวิธีการสอนแบบบูรณาการและสอดแทรกวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนและกิจกรรมต่างๆ
การประเมิน
ตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยายและตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอบทความ
เพื่อน : บางคนตั้งใจเพื่อนนำเสนอบทความบางคนก็พูดแข็งกับเพื่อนนำเสนอ
อาจารย์ : อาจรย์จะให้เพิ่มเติมจากที่เพื่อนนำเสนอบทความเพื่อทำให้เราเข้าใจมากขึ้น และจะใช้คำถามปลายเปิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น